top of page

Seminar in Geotechnology

ข้อมูลทั้งหมดนี้ ให้ในฐานะผู้ประสานงานรายวิชาอย่างไม่เป็นทางการ

ข้อมูลที่เป็นทางการทั้งหมดจะอยู่บน e-learning

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับที่ปรึกษา

มีใครเป็นที่ปรึกษาได้บ้าง?

ในปีการศึกษา 2564 อาจารย์ที่สามารถเป็นที่ปรึกษามีจำนวน 11 ท่าน กรุณาอ่านตารางข้อมูลอาจารย์ด้านล่างนะคะ

อาจารย์รับนักศึกษาได้กี่คน?

ตามข้อตกลงในที่ประชุมอาจารย์ สำหรับวิชาสัมมนา อาจารย์จะเฉลี่ยการรับนักศึกษาให้เท่ากัน (โควต้าของปีการศึกษา 2564 คือ อาจารย์ 1 คน ต่อนักศึกษา 3-4 คน) อย่างไรก็ตาม อาจารย์แต่ละท่านมีสิทธิ์รับนักศึกษาเกินโควต้า ตามแต่ความพอใจของอาจารย์ค่ะ

อาจารย์แต่ละท่านมีเงื่อนไขในการรับอย่างไรบ้าง?

อาจารย์ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขว่านักศึกษาจะต้องสนใจในสาขาที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ (กรุณาอ่านตารางข้อมูลอาจารย์ด้านล่าง) อย่างไรก็ตาม อาจารย์บางท่าน อาจจะพอใจที่จะรับเฉพาะนักศึกษาที่ประสงค์จะทำโครงการพิเศษในเทอมถัดไป ดังนั้น แนะนำว่าให้นักศึกษาติดต่อสอบถามอาจารย์เป็นการส่วนตัวเลยค่ะ

จำเป็นจะต้องได้ที่ปรึกษาก่อนเปิดเทอมหรือไม่?

ไม่จำเป็นเลยค่ะ ช้าที่สุดที่ควรได้ที่ปรึกษาคือ ภายในสัปดาห์ที่สองหลังเปิดภาคการศึกษา

ตัวอย่างรุ่นพี่ที่ลง Independent Study ในอดีต

เกี่ยวกับบทความวิจัย

จะต้องเลือกบทความที่จะศึกษาให้ได้เมื่อไหร่?

ภายในสัปดาห์ที่ 4 ของภาคการศึกษาค่ะ ในสัปดาห์แรกของภาคการศึกษา อ.ติ้งจะแนะวิธีการสืบค้นและเลือกบทความ จากนั้นนักศึกษาจะมีเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ในการไปเสาะหาบทความที่สนใจและให้ที่ปรึกษาอนุมัติบทความนั้น

บทความที่จะศึกษาจะต้องมีลักษณะอย่างไร?

บทความที่ศึกษามีข้อกำหนด

  • ตีพิมพ์ไม่เกิน 5 ปีปฏิทิน (สำหรับปีการศึกษา 2564 บทความวิจัยต้องตีพิมพ์ตั้งแต่ 2016 เป็นต้นไป)

  • เป็น research article เท่านั้น (ไม่ใช่ review, commentary หรือ response)

  • ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI

  • สามารถดาว์นโหลด full paper ในรูปแบบ PDF

  • ไม่ซ้ำกับบทความที่รุ่นพี่ 4 รุ่นก่อนเคยนำเสนอ โดยสามารถตรวจสอบบทความซ้ำได้จาก ฐานข้อมูลวิชาสัมมนา (สำหรับปีการศึกษา 2564 บทความจะต้องไม่ซ้ำกับรุ่นพี่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 จนถึง 2560)

ถ้าอยากจะเริ่มอ่านบทความตั้งแต่ก่อนเปิดเทอม จะสามารถทำได้มั้ย?

ทำได้แน่นอนค่ะ ตราบใดที่ 1) ที่ปรึกษาของท่านยินดีที่จะเริ่มทำงานกับท่านตั้งแต่ก่อนเปิดเทอม และ 2) นักศึกษาเลือกบทความที่มีรูปแบบตรงตามข้อกำหนดของรายวิชา

เกี่ยวกับรายวิชา (กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารบน e-learning)

ตลอดภาคการศึกษา มีกิจกรรมอะไรบ้าง?

ช่วง 7 สัปดาห์แรก เป็นการ lecture/workshop โดยอาจารย์ผู้ประสานงาน ส่วน 4-5 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบปลายภาค เป็นการนำเสนองานของนักศึกษา (สัปดาห์ละ 8 คน)

Lecture/Workshop สอนอะไรบ้าง?

  1. แนะนำการสืบค้นบทความ และวิธีการเลือกบทความ

  2. วิธี present งานที่ดี (เทคนิคการใช้โพยช่วยจำ, การใช้ pointer, voice training, ฯลฯ)

  3. การ "พูด" นำเสนองานเป็น "ภาษาอังกฤษ" (การออกเสียง, แนะนำคำศัพท์/ประโยคที่ควรใช้, ฯลฯ)

  4. การผลิตสื่อ (PowerPoint) ที่มีคุณภาพ (เทคนิคการใช้สี และ font, การใช้ animation, ฯลฯ)

  5. Workshop การ ใช้ PowerPoint (ทำอย่างไรไม่ให้ font เลื่อน, การใส่เลขหน้า, การใช้ template, ฯลฯ) 

  6. การตั้งคำถามเชิงวิชาการ (ลักษณะคำถามที่สร้างสรรค์, วิธีการถามที่เหมาะสม, ฯลฯ)

  7. การจัดการประชุมวิชาการ (บทบาทของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ, แนะนำบทพูด (ภาษาอังกฤษ) สำหรับ chair, ฯลฯ)

รูปแบบการนำเสนองานตอนปลายภาคเป็นอย่างไร?

  • นักศึกษานำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ 12 นาที และตอบคำถาม 8 นาที

  • เพื่อนในรุ่นจะเป็นผู้ดำเนินรายการและจัดการสัมมนา

  • ช่วงถาม-ตอบ สามารถใช้ภาษาไทย และเน้นให้นักศึกษาเป็นคนถาม

คะแนนของนักศึกษา มาจากกิจกรรมอะไรบ้าง?

คะแนนมาจากกิจกรรมต่างๆ ต่อไปนี้

  • การนำเสนองาน 45%

  • การดำเนินงานศึกษาบทความ 15%

  • การตั้งคำถาม 15%

  • การจัดการสัมมนา (เป็น organizer) 10%

  • ส่งงานและเข้าเรียน 15%

คะแนนของนักศึกษา มาจากใครบ้าง?

คะแนนมาจากการประเมินของคน 4 กลุ่ม

  • ที่ปรึกษา 40%

  • คณะกรรมการประเมินการนำเสนองาน 20% (อาจารย์ที่เข้าฟังนศ.ครบทุกคน) 

  • คณะกรรมการประเมินคุณภาพคำถาม 15%

  • อาจารย์ผู้ประสานงาน 25%

ข้อมูลอาจารย์ ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาสัมมนา

List of advisors
No
Name
Specialization
1
อ.รุ่ง
Hydrogeology, Engineering geology
2
อ.กุ้ง
Hydrogeology, Geochemistry
3
อ.อู๋
Sedimentology, Stratigraphy
4
อ.เก๋
Sedimentology, Stratigraphy, Paleontology, Coal geology
5
อ.นุด
Sedimentology, Stratigraphy, Paleontology, Petroleum geology
6
อ.ติ้ง
Soil/Rock mechanics, Engineering geology, Mining Geology and Engineering, Geoenvironmental Engineering, Geostatistics
7
อ.ลอย
Geophysical exploration, Geohazard
8
อ.มล
Rock mechanics, Engineering geology
9
อ.สิทธิ์
Sedimentology, Stratigraphy, Paleontology, Structural Geology
10
อ.อุ้ย
Mineralogy, Petrology, Mineral deposits
11
อ.เอ็ม
Geophysical exploration, Geohazard
12
อ.ดิว
ยังไม่สามารถเป็นที่ปรึกษาสัมมนา ในปีการศึกษา 2564
bottom of page