top of page

Seminar, Special Project, & Cooperative Study

ผู้ที่สนใจให้เราเป็นที่ปรึกษา สามารถดาวน์โหลดเอกสาร "รายละเอียดและเงื่อนไขในการทำงาน" เพื่ออ่านรายละเอียดและสิ่งที่ควรปฏิบัติ

icon_information.png

ข้อมูลโครงการพิเศษของรุ่นพี่ที่ทำงานกับอ.ติ้งในอดีต

คำถามที่พบบ่อย (เรื่องการเป็นที่ปรึกษา)

Seminar

Q

ถ้าไม่ต้องการจะทำ project กับอ.ติ้ง จะสามารถมาทำสัมมนาด้วยหรือไม่?

A

ไม่ห้ามแต่ไม่แนะนำค่ะ ถ้านักศึกษาแน่ใจว่าไม่ต้องการทำ project ด้วย อยากให้นักศึกษาเปิดโอกาสให้เพื่อนคนอื่นที่สนใจจะทำ project กับเราได้ทำสัมมนากับเรา

Seminar

Q

อ.ติ้งรับนักศึกษาทำสัมมนาด้วยกี่คน?

A

ปีการศึกษา 2564 รับ 3 คน ค่ะ

Seminar

Q

เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาที่ได้ทำสัมมนาด้วยคืออะไร?

A

ถ้ามีคนลงชื่อเกิน 3 คน ก็จะจับฉลากค่ะ

Seminar

Q

คนที่ได้ทำสัมมนาด้วยจะได้ทำโครงการพิเศษหรือสหกิจศึกษาต่อเลยมั้ย?

A

ไม่ได้ให้ทำงานต่อด้วยโดยอัตโนมัติค่ะ ทุกคนที่สนใจจะทำโครงการพิเศษหรือสหกิจศึกษาจะต้องส่งข้อเสนอโครงการมาให้พิจารณา อย่างไรก็ตาม คนที่ได้ทำสัมมนาด้วย จะมีแต้มต่อ (+20 คะแนน) ที่เพิ่มให้เป็นพิเศษ (อ่านรายละเอียดในเอกสาร "รายละเอียดและเงื่อนไขในการทำงาน")

Seminar

Q

อ.ติ้งอนุญาตให้ศึกษาบทความในสาขาวิชาใดบ้าง?

A

เราไม่มีข้อจำกัดเรื่องสาขาวิชาของบทความ แต่แนะนำว่าควรจะเลือกอ่านในประเด็นที่ตัวเองสนใจมากที่สุด (ประเด็นที่คิดว่าอยากจะทำ project) เพื่อจะได้เช็คว่าตัวเองชอบเรื่องนั้นจริงหรือไม่ - ถ้าไม่ชอบก็จะได้เปลี่ยนสาขาวิชาหรือหัวข้อ project, ถ้าชอบ ก็จะได้มีไอเดียในการทำ project ต่อ

Seminar

Q

บทความที่ใช้สำหรับทำสัมมนาจำเป็นต้องมีความเกี่ยวข้องกับโครงการพิเศษที่จะทำหรือไม่?

A

เกี่ยวได้ก็ดี แต่ไม่มีความจำเป็นเลยค่ะ นักศึกษาส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบหรอกว่าโครงการพิเศษที่ตัวเองจะทำคืออะไร เราเชื่อว่าการทำสัมมนาจะการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับวิชาการในเชิงลึก และเป็นโอกาสให้นักศึกษาได้ตรวจสอบว่าชอบหัวข้อนั้นจริงหรือไม่ เป็นไปได้ว่าเมื่อทำสัมมนาไปแล้ว นักศึกษาพบว่าตนไม่ได้มีความสนใจในเรื่องที่เลือก เป็นเหตุให้เปลี่ยนไปทำโครงการพิเศษในหัวข้ออื่น ก็เป็นได้

Seminar

Q

ก่อนจะลงชื่อ นักศึกษาจะต้องมี paper แล้วหรือยัง?

A

ไม่ต้องเลยค่ะ เราจะเริ่มหา paper กันตอนเปิดเทอม หรือถ้าบางคนขยันอยากจะเริ่มทำงาน seminar ช่วงปิดเทอม เราก็ไม่รังเกียจที่จะเริ่มงานเร็วด้วย

Seminar

Q

ลงชื่อขอทำสัมมนากับอ.ติ้งได้ถึงวันไหน?

A

ภายในวันสอบวันสุดท้ายของการสอบในเทอมปลายของปี 3 (ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย สำหรับปีการศึกษา 2563 คือ วันอาทิตย์ที่ 2 พ.ค. 2564)

Seminar

Q

ถ้าหัวข้อที่นักศึกษาสนใจจะทำสัมมนา ไม่ได้อยู่ในความสนใจของอ.ติ้ง อาจารย์จะรับมั้ย?

A

ถ้าไม่ได้คิดจะทำ project กับเรา (ไปดูหัวข้อ project ที่เราสนใจได้ในเอกสาร "รายละเอียดและเงื่อนไขในการทำงาน") ก็อย่ามาทำ seminar กับเราเลยนะ เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ ที่อยากทำ project กับเราได้ทำสัมมนากับเราดีกว่า

Project & Cooperative Study

Q

คนที่จะทำโครงการพิเศษหรือสหกิจศึกษาด้วยจะต้องทำคะแนนในรายวิชาของอ.ติ้งได้ดีใช่มั้ย?

A

ไม่ค่ะ เราไม่มีเงื่อนไขใดเรื่องเกรดรายวิชา หรือเกรดเฉลี่ยรวม (GPAX) และมีคติส่วนตัวว่า เราไม่อวยเฉพาะคนเรียนเก่ง แต่เปิดโอกาสให้คนที่มีความตั้งใจและพยายาม (แม้จะได้เกรดไม่ดี) ได้มีโอกาสแก้ตัวและแสดงความสามารถ

Project & Cooperative Study

Q

อ.ติ้งจะรับนักศึกษาทำโครงการพิเศษและสหกิจศึกษากี่คน?

A

ทั้งสหกิจศึกษาและโครงการพิเศษ รับทุกคนที่มีคะแนนข้อเสนอโครงการเกิน 75 คะแนน หรือ 3 คนแรกที่มีคะแนนสูงสุด (กรณีคะแนนไม่ถึง 75)

Project & Cooperative Study

Q

รูปแบบข้อเสนอโครงการที่ต้องส่งเป็นแบบไหน?

A

อ่านรายละเอียดได้ในเอกสาร "รายละเอียดและเงื่อนไขในการทำงาน" นะคะ

Project & Cooperative Study

Q

ถ้าไม่ลงสหกิจศึกษาแต่เลือกทำโปรเจคแทน นักศึกษาสามารถไปทำงานกับหน่วยงานภายนอกได้หรือไม่?

A

ได้ค่ะ จะเป็นรูปแบบไปนั่งทำงานที่สำนักงานของหน่วยงานนั้น หรือจะเป็นรูปแบบขอข้อมูลมาทำงานที่มหาวิทยาลัยก็ได้

Project & Cooperative Study

Q

ปิดรับข้อเสนอโครงการเมื่อไหร่?

A

ก่อนวันสุดท้ายของการสอบกลางภาค ในภาคการศึกษาต้น ของชั้นปีที่ 4 (สำหรับปีการศึกษา 2564 ตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัย ระบุไว้คือ วันศุกร์ที่ 10 ก.ย. 2564)

Project & Cooperative Study

Q

ถ้าจะทำงานกับอ.ติ้ง นักศึกษาจะต้องถนัดวิชาอะไร?

A

เราไม่เน้นว่าคนที่จะมาทำงานด้วยจะต้องมีความถนัดหรือเก่งวิชาใด เพราะเราพร้อมจะให้คำแนะนำ (และสอนถ้าจำเป็น) แต่ผู้ที่รู้ตัวว่าไม่ถนัดและยังต้องการทำงานในสาขาวิชานั้นอยู่จะต้องมีความพยายามและขวนขวายในการช่วยเหลือตนเอง (ทบทวนเนื้อหา) พร้อมกับต้องประเมินได้ว่าตนต้องการความช่วยเหลือและรู้จักมาขอคำแนะนำในสถานการณ์ที่เหมาะสม

Project & Cooperative Study

Q

ถ้าจะทำงานกับอ.ติ้ง นักศึกษาจะต้องถนัดกระบวนการทำงานแบบใด (เชิงทฤษฏี, คำนวณคณิตศาสตร์, งานสนาม, งานในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ)

A

นักศึกษาสามารถเลือกทำงานด้วยกระบวนการใดก็ได้ตามที่ตนถนัด แน่นอนว่าเรามีกระบวนการทำงานที่เป็นความชอบส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่นชอบทำงานเชิงทฤษฎีมาก และไม่รักหรือเกลียดการทำงานในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่นักศึกษาเลือกทำงานในห้องปฏิบัติการจะทำให้ได้คะแนนข้อเสนอโครงการน้อย เพราะคะแนนรวมยังขึ้นอยู่กับอีกหลายประเด็น เช่นการทำงานในห้องปฏิบัติการที่มีการประยุกต์ใช้ที่ดี ก็เป็นโครงการที่มีโอกาสจะได้รับการพิจารณา

Project & Cooperative Study

Q

นักศึกษาจะต้องมีความถนัดหรือมีความรู้เป็นอย่างดีก่อนที่จะส่งข้อเสนอโครงการหรือไม่?

A

ไม่ค่ะ นักศึกษาต้องมีความรู้ (โดยเฉพาะ concept) ในระดับที่เพียงพอสำหรับการเขียนข้อเสนอโครงการให้สามารถดำเนินการสำเร็จลุล่วงได้โดยไม่ผิดหลักวิชาการ อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับพิจารณาให้ทำงานด้วยแล้ว นักศึกษาจะต้องทำการศึกษารายละเอียดของงานด้วยตนเองตามที่แนะนำและขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำความเข้าใจกับเนื้อหา หรือ ไม่สามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้เอง

Project & Cooperative Study

Q

ถ้านักศึกษายังเรียนไม่ถึงหัวข้อที่จำเป็นสำหรับการเขียนข้อเสนอโครงการ นักศึกษาจะต้องทำอย่างไร? (ยกตัวอย่างเช่นการระเบิด ซึ่งเรียนในวิชา Engineering 2 ตอนช่วงปลายเทอม 2)

A

นักศึกษาต้องขวนขวายในการอ่านหนังสือหาความรู้เอง ถ้านักศึกษาสนใจเรื่องนั้นจริง เราเชื่อว่าการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจะไม่มีความขมขื่น และอย่าลืมว่านักศึกษาไม่จำเป็นต้องมีความรู้ลึกซึ้งและเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้นเพื่อการเขียนข้อเสนอโครงการ ขอเพียงแต่มีความรู้เชิงหลักการที่จำเป็นที่ทำให้ดำเนินงานแล้วสำเร็จก็สามารถเขียนข้อเสนอโครงการได้แล้วค่ะ

Project & Cooperative Study

Q

ถ้านักศึกษามี passion กับหัวใดหัวข้อหนึ่งซึ่งไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือวิชาใดๆ นักศึกษาควรทำอย่างไร?

A

แนะนำให้ลงวิชา Independent Study เลยค่ะ ขออนุญาตยกตัวอย่าง case ของพี่ปาล์ม G41 ซึ่งมี passion กับหัวข้อ Coastal Management (ซึ่งไม่มีสอนในรายวิชาของหลักสูตร) และมีความสนใจในการใช้ GIS เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ - สิ่งที่พี่ปาล์มทำคือมาขอทำ seminar ด้วย โดยเลือก paper เกี่ยวกับการจัดการชายฝั่ง และขอลงทะเบียนวิชา Independent Study โดยให้เราเป็นที่ปรึกษา เพื่อศึกษาในหัวข้อเรื่อง "Coastal Management" ในขณะเดียวกัน พี่ปาล์มฝึกฝนการใช้ ArcGIS ด้วยตนเอง เมื่อสิ้นสุดปี 4 เทอม 1 พี่ปาล์มมีความรู้ และมีทักษะการใช้เครื่องมือที่พร้อมสำหรับการทำโครงการพิเศษ จากนั้นพี่ปาล์มขอไปทำโครงการพิเศษที่กรมทรัพยากรชายฝั่งและทะเล ซึ่งผลของการดำเนินงานมีความสำเร็จในระดับดีเยี่ยม

Project & Cooperative Study

Q

ถ้าในวิชาเรียนมีสอนหัวข้อ blasting อยู่แล้ว แต่นักศึกษาอยากลงเรียน Independent Study ในหัวข้อ blasting เพื่อจะได้มีความรู้และเตรียมตัวสำหรับทำโครงการพิเศษ จะทำได้หรือไม่?

A

ทำได้ เพราะเนื้อหาที่เรียนในห้องเรียน (เนื่องจากเวลาจำกัด) อาจจะไม่มีความลึกซึ้งเพียงพอที่จะทำให้นำไปใช้งานได้จริง

bottom of page